12 เกร็ดความรู้

12 เกร็ดความรู้ สำหรับผู้ ที่ สนใจเลี้ยง กระเบน

    1. Research อย่ารีบ ซื้อ กระเบน เพราะถูกใจ ปุ๊บปั๊บ แบบรักแรกพบ ต้องหาข้อมูล
        เกี่ยวกับ การเลี้ยงดู ให้มาก ที่สุด ก่อน ซื้อ หนังสือ ที่ มีข้อมูลกระเบนมาก ที่สุด ที่ เรียกว่า
        เป็น ไบเบิลของชาวกระเบนก็คือ "Freshwater Stingrays from South America" โดย
        Dr. Richard Ross สำนักพิมพ์ Aqualog ประเทศ เยอรมัน ซึ่ง รวมข้อมูล ทุกอย่าง
        เกี่ยว กับ กระเบน ไว้โดยเฉพาะ



    2. Commitment จงมั่นใจ ว่า มีเวลาอุทิศให้ กับ กระเบน เพราะ ความต้องการ ของ กระเบน
        นั้น ไม่เหมือน ปลา ทั่วไป ถ้า ดูแลได้ถูกทาง แล้ว กระเบน จะ อยู่ กับ คุณถึง 20 ปี
        และมีขนาดมากกว่า 18 นิ้วเลย ทีเดียว



    3. Tank setup ตู้เลี้ยง ต้อง ถูกขนาด ตู้ยิ่งขนาดใหญ่ เท่าไร กระเบน ก็ มีความสุข มากขึ้น
        เท่านั้น ส่วน วัสดุปูพื้น และ ระบบไฟ นั้น ตามใจผู้เลี้ยง ถ้าคิด จะ ตกแต่งตู้ ก็ ขอแค่ อย่าใช้วัสดุ
        แหลมคม เป็นอันตราย ต่อ ผิวกระเบน ถ้า จะ ติดฮีตเตอร์ ต้อง ป้องกันระวังไม่ให้ กระเบน
        โดนฮีตเตอร์เผา 



    4. Filtration ต้อง มั่นใจ ว่า ระบบกรอง นั้น ถูกต้อง เหมาะสม ระบบกรอง ของ กระเบน นั้น
        ต้อง มีขนาดใหญ่ กว่า ขนาดแนะนำ ของ การเลี้ยงปลาทั่วไป เพราะ ปลากระเบน กินเยอะ
        ถ่ายเยอะ พาวเวอร์เฮด นั้น จำเป็น ต่อการสร้าง การหมุนเวียน ของ น้ำ ภายในตู้ และ กระเบน
        จะ แฮปปี้ กับ น้ำ ที่ ไหลแรง และ ออกซิเจนสูงๆ



    5. Water quality คุณภาพน้ำ ค่า pH ระหว่าง 6.5 - 7  แอมโมเนีย 0 ppm, Nitrite - 0 ppm,
        Nitrate 5 - 10 ppm. การ ที่ จะรักษา ระดับ น้ำ ให้ ได้แบบนี้ ต้อง ทำการเปลี่ยนน้ำใหญ่
        อาทิตย์ ละครั้ง หรือ สองครั้ง ห้ามลืมเด็ดขาด 



    6. Feeding กระเบน ที่ มีสุขภาพแข็งแรง จะ สามารถ กินอาหาร ได้ หลากหลาย ไม่ว่า  จะเป็น
        หนอนแดง ทั้งสดๆ หรือ แช่แข็ง ไส้เดือนดิน กุ้งฝอยเป็น หรือ แช่แข็ง เนื้อปลาสดหั่น หอยแมงภู่
        และ ปลาเหยื่อ แต่ อาหาร ที่ เหมาะ ที่สุด สำหรับ ปลา ที่ เพิ่งช้อน มาลงตู้ใหม่ๆ คือ 
        หนอนแดงสด และ ไส้เดือนน้ำ



    7. Tank mates กฎง่ายๆ อะไร เล็กกว่า ปากกระเบน โดนหม่ำ กระเบน เล็ก ที่ ยัง บอบบาง
        ควรเลี้ยงเดี่ยวๆ ให้คุ้นเคย กับ สิ่งแวดล้อม เริ่มกินอาหาร จนอยู่ในระดับ ที่ อ้วนท้วนเสียก่อน
        จึงหา ปลา อื่น มาลงเลี้ยงร่วม ได้เพื่อเป็น การลด การรบกวน



    8. Choosing the correct type of ray. เลือก กระเบน ให้ถูกชนิด มือใหม่ ไม่ควร ซื้อ ปลา
        ที่ มีขนาดต่ำกว่า 6 นิ้ว อย่าเห็น แก่ ราคาถูก เพราะ ปลาเล็ก นั้น บอบบาง เอา ปลาเล็ก
        ไปเลี้ยงแล้ว ตาย ขึ้นมา คุณจะกลาย เป็น คน ที่ บอกว่า กระเบน เลี้ยงยาก โดยเข้าใจผิด
        กระเบน ที่ เหมาะสำหรับ มือใหม่ คือ กระเบนโมโตโร่ เพราะ เป็น กระเบน ที่
        ดูแลง่าย และ กินเก่ง



    9. Buying a ray ห้าม ซื้อ กระเบน ที่ ไม่กินอาหาร เพราะ กระเบน ที่ แข็งแรง จะ ไม่เคยหยุด
        ลอง ต่อ ลองร้านขายปลาให้ ลองให้ อาหาร กระเบนดู ว่า ปลา กินอาหาร หรือ ไม่  ร้านปลา
        ที่ ระดับโปรพอ มักจะเตรียมอาหาร ปลาไว้สำหรับ ลูกค้า โดย เฉพาะ อยู่แล้ว กระเบน
        ที่ แข็งแรง คือ กระเบน ที่ active ไม่มี กระดูกแหลม โผล่ ขึ้น มาจากโคนหาง
        หรือ ผอมเหลือ แต่ก ระดูก



    10. Acclimatizing your new ray ปรับสภาพ กระเบน ทุกครั้ง อย่ารีบ ปล่อย กระเบน ลงตู้เลี้ยง
        การลอยถุง 15 นาที อาจจะ ไม่ เพียงพอ สำหรับ กระเบน กระเบน ต้องการ การปรับตัว ที่
        ช้ากว่านั้น วิธี ที่ ดี ที่สุด คือ เทน้ำ ออกจาก ถุง ออกให้เหลือ 1 ใน 3 ใส่ หัวทราย ลงไปในถุง
        เพื่อให้อากาศ แล้ว ใช้สายออกซิเจน เส้นเล็กๆ ดูดน้ำ ออกจากตู้ มาใส่ถุง จนเกือบเต็ม ถุง
        กว่า น้ำ จะเต็มถุง ก็ ได้เวลา ที่ จะปล่อย ปลา ลงสู่ตู้เลี้ยงพอดี และ ควรปิดไฟในอาทิตย์แรก



    11. Also do not add medication/chemicals unnecessarily. อย่าใส่ ยา หรือ สารต่างๆ มั่วซั่ว
        โดย ไม่จำเป็น  ถ้าจะใส่เกลือ จงมั่นใจว่า ได้ ละลายเกลือเม็ด ให้ เป็น สารละลายแล้ว
        ก่อน ที่ จะ เทลงไป การใส่เกลือเม็ด จะ ทำให้ ผิวหนัง กระเบนไหม้ ถึง ตายได้ 



    12. Do not buy converted ray ง่ายๆ และ สั้นๆ อย่าซื้อ กระเบน ที่ ปรับจาก น้ำ กร่อย มา
        เป็น น้ำจืด เพราะ ปลาเหล่า นี้ มีชีวิตไม่นาน ใน ที่ เลี้ยง


Credit : http://www.arowanacafe.com



counter create hit