การดูแล กระเบน


เทคนิค และ วิธีการดูแลลูกปลาแรกเกิด

     สาเหตุการตายของลูกปลา
        - สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลง เช่น  อุณหภูมิ ค่า PH ที่ ไม่ คงที่ หรือ เปลี่ยนไป
        - โดนปลา ตัว ที่ ใหญ่กว่าทำร้าย ส่วนใหญ่ ก็ เนื่องมาจาก  ตู้ หรือ บ่อ ที่ แน่นเกินไป
        - ไม่กินอาหาร  ส่วนมากเกิดจากความเครียด การย้ายลุกปลาเร็วเกินไป ให้อาหารผิด ประเภท
           หรือ เกิดจาก ลูกปลาเกิดก่อน กำหนด
        - การติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องมาจาก สภาพน้ำ ที่ ไม่สะอาด หรือ เชื้อโรค ที่ ติดมา กับ อาหารสด


     การดูแลลูกปลา
          การย้ายลูกปลาจากสถาน ที่ เกิดมายังตู้พัก ช่วง  30 นาทีแรก หลังลูกปลาเกิดนะครับ
          ลูกปลาจะยังไม่แข็งแรงนะครับ ช่วงแรกๆๆ ลูกปลา ก็ อาจจะ ว่าย ตีลังกา  การทรงตัวจะยัง
          ไม่ดี  และ พยายาม ที่ จะ ว่าย ส่วนใหญ่ผมจะย้ายปลา หลังจาก ที่ คลอดมาแล้ว


          4 ชั่วโมงนะครับ ช่วง ที่ ย้ายลูกปลา พยายามอย่าตัก ลูกปลาออกมาจากน้ำ พยายาม
          ตักใส่ถุง หรือ ว่า ขัน ขณะ ที่ ลูกปลาอยู่ในน้ำ อย่าให้ลูกปลา ออกมาเหนือน้ำ ก่อน ที่ จะย้าย
          ลูกปลาไปไว้ ที่ ตู้พัก ควรจะใช้น้ำเก่า จากในตู้ ที่ ลูกปลาเกิด ก็ จะดีมากนะครับ แต่ ถ้า


          เป็นไปไม่ได้ น้ำในตู้พักน้ำ ควรจะเป็นน้ำ ที่ พักมาแล้ว ไม่ควรเป็นน้ำก๊อก นะครับ  ผสม 50/50
          ระหว่าง น้ำเก่า จากใน บ่อ และ น้ำใหม่ ที่ พักไว้แล้ว น้ำ ใน ตู้พัก ควรจะมีค่า ph ใกล้คียง กับ ตู้
          ที่ ปลาเกิดนะครับ ค่อยๆ ปรับสภาพให้ กับ ลูกปลา ควรใส่ น้ำ ใหม่อย่างช้าๆ และ ค่อยๆทำ


          เพื่อให้ ลุกปลา ค่อยๆ ปรับสภาพ ผมใส่ น้ำ ใหม่ 1 ถ้วย ทุกๆ 30 นาที เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นะครับ
          หลังจากนั้น ก็ ค่อยๆ เอียงภาชนะ ที่ ใส่ลูกปลา เพื่อให้ ลูกปลา ลง สู่ ตู้พัก อย่างช้าๆ 
          คอยสังเกต ลูกปลา ดูว่า ลูกปลา นิ่งเป็นเวลานาน หรือ ว่า เริ่มว่าย บ้าง หรือ ไม่


     3 วันหลังจากลุกปลาเกิด
        - สภาพน้ำ ควรมั่นใจ ว่า น้ำในตู้ มีอากาศ และ ออกซิเจนเพียงพอ และ จำนวนน้ำ ต้อง เยอะพอ
          ผมแนะนำ ตู้ยาว 3 ฟุต ที่มี ระบบการกรอง ที่ ดี ซึ่งไม่ได้ หมายถึง จะต้อง มีปั้ม ที่ ใหญ่
          เครื่องแรง แต่ หมายถึง ระบบกรอง ที่ มีตัวกรอง ชั้นเยี่ยม ซึ่ง ประกอบด้วย ตัวกรอง 
          และ อุปกรณ์การกรอง ที่ ดี และ มากพอ และ พืช ถ้าเป็นไปได้


        - การเปลี่ยนน้ำปริมาณมากไปก็ใช่ว่าจะดี  ควรจะเปลี่ยนน้ำไม่เกิน 20% โดย น้ำนั้น ควรจะ
          ถูก กักเก็บ เอาไว้ อย่างน้อย หนึ่ง คืน เนื่องจาก น้ำก๊อกโดยตรงในบ่างพื้น ที่ มักมี สารเคมี
          ตกค้าง อยู่ สิ่งที่ สำคัญ คือ น้ำ ที่ ใช้ คือ น้ำ ที่ ถูกพักเอาไว้แล้ว หรือ ถ้าไม่สามารถ
          พักน้ำได้จริง ควรจะ ใช้ กรองคลอรีน และ เติมน้ำ ในปริมาณช้าๆ แทน ที่ ได้


     การให้อาหาร
          แนะนำว่าควรจะให้อาหาร ที่ นิ่ม และเล็ก นะครับ เช่น ไส้เดือนน้ำ หรือ หนอนแดงแช่แข็ง
          ผมชอบ  ที่ จะให้ หนอนแดงแช่แข็ง มากกว่า เพราะว่ามัน สะอาด และ  ปลอดจาก เชื้อแบคทีเรีย
          สังเกตุ ดู ว่า ลูกปลา กิน ได้ เยอะ ขนาดไหน อาจจะลองให้ 1-2 ก้อน


          ในช่วงแรก อย่าให้ อาหารเยอะเกินไป เพราะจะทำให้น้ำเสีย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อลูกปลาได้
          ปกติลูกปลา จะ ไม่กินอะไร ในช่วงสองวันแรก แต่ ก็ มี ลูกปลาบางตัว ที่ เริ่ม กินอาหาร
          ภายใน วัน ที่สอง หลัง จากเกิด


     การป้องกัน
        - ถ้าพัก ลูกปลา ในบ่อ ก็ ควร ที่ จะ ระวังนก ที่ จะมารบกวน หรือ ทำร้าย ลูกปลา บนผิวน้ำ
        - ถ้าคุณรวม ลูกปลาไว้ กับปลา ที่ ตัวใหญ่กว่า ก็ ควรจะมีขอนไม้ เอาไว้ให้ลูกปลา 
          ได้ซ่อน เมื่อเวลา ที่ เครียด
          พยายามอย่าใส่ กรวด หรือ ทรายไว้ในตู้ เพราะยาก ต่อการ ทำความสะอาด และ แบคทีเรีย
          ที่ ซ่อนอยู่ใน พื้นทราย ก็จะทำให้ปลาป่วยได้ง่าย


          -ไม่ ควร ทำสิ่งของ ที่ แหลมคม เอาไว้ใน ตู้ มุม หรือ สามารถ เป็น อันตรายต่อ ลูกปลา
          ได้เช่นกัน ควรเช็ค ให้ แน่ใจ ว่า มุมน้ำล้นในตู้ จะ ไม่มีช่อง ให้ ลูกปลา ลอดผ่านไปได้
          โดยเฉพาะ ลูกปลา ที่ เล็กกว่า 3 นิ้ว


          -ไม่ ควรเติมน้ำ จน เต็มตู้ ควรจะเติม ให้ ต่ำกว่า ขอบตู้ อย่างน้อง 3 นิ้ว 
          -ไม่ ควรให้อาหารสด ใน ปริมาณ ที่ มากเกินไป เช่น กุ้ง หรือ ใส้เดือนน้ำ เพราะ กุ้งจะไป
          กัดผิว ของ ลูกปลาได้ และ ใส้เดือนน้ำ เป็นสาเหตุ ที่ ทำให้ น้ำเน่าเสียง่าย


                                                            เมื่อลูกปลาอายุได้ 3 อาทิตย์


     การให้อาหาร
          เป็น เรื่องง่ายมาก ที่ จะ เปลี่ยนจาก ลูกปลากระเบน ให้กินเก่ง ถ้า ลูกปลา นั้น มาจาก พ่อแม่ ปลา
          ที่ เพาะพันธุ์ ที่ กินเก่ง เมื่อ ลูกปลา กินอย่างสมบูรณ์แล้ว ตอนนี้ ก็ เป็นเวลา ที่ จะปรับเปลี่ยน ผม
          ก็ จะเริ่มให้อาหาร ลูกปลา มากขึ้นเป็น 4 ครั้ง ต่อวัน 4 ชั่วโมงต่อ ครั้ง


                              ให้อาหารครั้งที่ 1  เวลา 08.00 นาฟิกา
                              ให้อาหารครั้งที่ 2  เวลา 12.00 นาฟิกา
                              ให้อาหารครั้งที่ 3  เวลา 16.00 นาฟิกา
                              ให้อาหารครั้งที่ 4  เวลา 20.00 นาฟิกา


          เวลา ที่ ดี ที่สุด ใน การ ให้อาหาร ลูกปลา ครั้งแรก ควรจะให้เวลาเช้า คุณสามารถสังเกตได้
          ว่า ให้อาหาร ครั้งหลัง สุด คือ 2 ทุ่ม เมื่อวาน ลูกปลา จะ ต้องรออีก 12 ชั่วโมง ก่อนที่ จะให้
          อาหาร ครั้งแรกของวัน ลูกปลา ควรจะมี อาการหิว เวลา ที่ ลูกปลากินอาหาร ก็ ลองสังเกตดู


          ว่า กินอาหาร หรือ ไม่ อย่างไร อาจจะใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ ที่ ลูกปลา จะ กินอาหาร
          ที่ คุณให้ จนหมด เมื่อนั้น ก็ เป็นสัญญาณ ที่ดี ว่า ลูกปลา เริ่ม ที่ จะเคี้ยว แล้ว


          ส่วนใหญ่ ปลากระเบน จะ หา อาหาร ใน ที่มืด ถ้า ลูกปลา ไม่ กินอาหาร ลองปิดไฟให้หมด
          อาหาร ฮิคาริ เม็ดจม ก็ เป็นทางเลือก ที่ดี ที่ จะให้ลูกปลากิน


                                                                      น้ำ


        - การ เปลี่ยน น้ำ สามารถ ลดลง เป็น อาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง โดย ที่ ปริมา ณสามารถเพิ่ม
          ปริมาณ เป็น 30-50 %  แต่ การเพิ่มปริมาณ น้ำ ควรจะ ทำโดยช้าๆ และ ใช้กรองคลอลีน
          ถ้าคุณเติมน้ำ จากก๊อก โดยตรงโดย ที่ คุณสามารถ ทำตาม ขั้นตอนนี้ ได้ตลอด สัปดาห์
          ถ้ามีเวลา และ เมื่อ ลูกกระเบน กินอาหาร และ สามารถ อยู่ รอดผ่าน 21 วัน ปลา ก็ ถือว่า
          มีความแข็งแรง เพียงพอ


        - ส่วน ที่ จะทำให้ ปลา ตายหลัง จากช่วงนี้ โดย ปกติ มักเกิดจาก คุณภาพน้ำ ที่ ไม่สะอาด
          หรือ มักเกิดจาก แบคทีเรีย ที่ ติดมา กับ อาหารสด การเปลี่ยน น้ำ อย่างสม่ำเสมอ
          และ อาหาร ที่ สะอาด เป็น ปัจจัยสำคัญ ที่ จะทำให้ปลา อยู่รอด ถ้าคุณเลี้ยง ปลากระเบน
          ด้วยอาหารสด ก็ ควรจะพยายาม ฆ่าเชื้อ ให้ อาหารสด ปลอดเชื้อโรค หรือ อย่างน้อย ก็ ควร
          จะซื้อ อาหาร จากแหล่ง อาหารสด ที่ เชื่อถือได้ ควรจะหลีกเลี่ยง ปลาทอง หรือ ลูกปลาคาร์ฟ


     การป้องกัน
        - ลองใช้ปั้มลม และ มีตัวสำรองเอาไว้ ที่ บ้าน เพราะ ถ้าปั้มเสีย ฉุกเฉิน ไม่มีปั้มสำรอง
          ระวังจะ เป็น อันตรายต่อปลาที่ คุณรัก และ กระเป๋าของคุณได้


        - การนำ ปลาใหม่ ลงตู้ อยู่ร่วม กับ ปลาตัวอื่น ก็ ควรจะมี การกัก ปลา ก่อน ที่ จะปล่อย
          ปลากระเบน ตัวใหม่ลงบ่อ กระเบนป่า หรือ ปลา บางประเภท ก็ อาจเป็นอันตราย ได้
          อันเนื่องมาจาก ปรสิต ที่ อยู่ในตัวปลา เมื่อกระเบนทิ้งเงี่ยงไว้ ควรนำมันออกจากตู้ทันทีที่เห็น


          ผู้เลี้ยงกระเบน ก็ ควรที่ จะระมัดระวัง เงี่ยงของกระเบนด้วย เพราะว่าถ้าโดนแล้ว มันทรมานมาก


Credit : http://www.fishmonsterclub.in.th



counter create hit