ลงปลาใหม่ ให้รอด

         การ โยกย้าย ปลาใดๆ ก็ ตาม จากแห่ง หนึ่ง ไป ยัง บ้านใหม่ ของ เขานั้น ถือ ว่ามีความสำคัญ
         ไม่น้อย การที่ จะต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ สภาพน้ำใหม่ ค่าน้ำใหม่ เพื่อน ร่วมตู้ใหม่
         เป็น เรื่องใหญ่ ที่ สามารถ ทำให้ปลา สมาชิกใหม่ “ รอด หรือ ร่วง ” ได้เลย ทีเดียว


ปัจจัย อะไร ที่ จะทำให้ สมาชิกใหม่ ร่วง ได้บ้าง

         การ ย้ายที่อยู่ นั้น ส่วนมาก แล้ว จะ สร้างความตึกเครียด ให้ กับ ปลาใหม่ มากมาย ทีเดียว
         สิ่งแวดล้อม ที่ แปลกไป จะ ทำให้ ปลาใหม่ รู้สึก ไม่ ปลอดภัย ซึ่ง เป็น ความกังวล ที่ อาจทำให้
         ปลา หยุด กินอาหาร จนเสียชีวิตได้ สภาพน้ำใหม่ ที่ ไม่เหมือนเดิม เช่น ปริมาณ คลอรีน
         มากกว่าเดิม ค่าความ เป็น กรดด่าง ที่ แตกต่างกันมาก อุณหภูมิ ที่ เปลี่ยนไป



         ทำให้ ปลา ต้องปรับ ตัว อย่างมาก ซึ่ง หากความแตกต่าง มีมาก อาจ ทำให้ ปลาเกิดอาการ
         “ ช็อคน้ำ ” จนเสียชีวิต ฉับพลันได้ การ ที่ เป็นสมาชิกใหม่ โดย ที่ มีสมาชิกเดิม อยู่แล้ว
         นั้น ก็ เป็น อีกปัจจัย ที่ ทำให้ ปลา เสียชีวิต จากการ โดนเจ้า ของ ที่ ข่ม หรือ ทำร้าย ได้ เช่นกัน
         ดังนั้น การย้าย ปลาใหม่ เข้ามา ควรจะ มี การเตรียมตัว เตรียมพร้อม เพื่อให้ สมาชิกใหม่
         ค่อยๆ ปรับตัว จน กระทั่ง แข็งแรง



         1. ควรเตรียม น้ำ ล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ โดย การเปิดระบบน้ำ ให้มี การกรองตามปกติ เพื่อกำจัด
             คลอรีน ปรับ ค่าความ เป็นกรดหรือด่างของน้ำประปา และให้ระบบกรองได้ทำงานอย่างเต็มระบบ



         2. หาก สามารถ ทราบ ค่าน้ำ ต่างๆ ของ ผู้จำหน่าย หรือ ฟาร์ม ผู้ เพาะพันธุ์ เช่น มีค่า
             ความ เป็น กรด ด่างเท่าใด มี อุณหภูมิ เท่าใด ก็ ควรจะ ปรับค่าน้ำ ที่ เตรียมเอาไว้ ให้
             ใกล้เคียง การปรับค่า ความเป็น กรด ด่าง สามารถ ทำได้ หลายวิธี แต่ ก่อนอื่น ควรจะ
             มา ทำความเข้าใจ กับ ความเป็น กรด ด่าง และ PH สูงต่ำ เสียก่อน ซึ่งค่า PH ตามปกติ
             ตาม กฏองค์กร อนามัยโลก กำหนดไว้ ที่ 6.5-8 ซึ่ง ค่า PH ใน น้ำประปา ของ ประเทศไทย
             จะอยู่ ที่ ประมาณ 7.0-7.5 ซึ่ง ถือว่า เป็น ค่ามาตรฐาน



     2.1) น้ำ ที่ มีค่า PH สูง หมายถึง สภาพน้ำ เป็น ด่าง หรือ เบส มาก มีค่า มิเตอร์มากกว่า 8.5
             ขึ้นไป การปรับแก้ ควรจะ เพิ่ม กรด ซึ่ง เป็น สภาพตรงกันข้าม การเพิ่มกรด ควรจะ ใช้กรด
             จากธรรมชาติ เช่น น้ำส้มสายชูกลั่น แป้ง น้ำตาล กากน้ำตาล หรือ จุลิยทรีย์ ใน ปริมาณ ที่
             เหมาะสม ควรเติม ทีละน้อย และ เช็คค่า PH ดู ว่า สมดุล หรือ ยัง หากใส่มากเกินไป ก็ ต้อง
             ระบายน้ำ ออก และ เติมน้ำใหม่ เข้าไป หากใส่น้อยเกินไป ก็ ค่อยๆ เติมทีละน้อย จนกระทั่ง
             สมดุล


             แต่ การเติม กรด ลงใน น้ำ จะ ทำให้ปริมาณอ๊อคซิเจน ใน น้ำ ลดต่ำลง และ จุลิยทรีย์
             ใน น้ำ มากขึ้น อาจทำให้ปริมาณ ไน เตรท ไนไตร สูงขึ้น อย่างฉับพลัน ดังนั้น ควรใช้ ใน
             ปริมาณ ที่ เหมาะสม และ เมื่อระดับความ เป็น ด่าง ลดลง แล้ว ก็ ควร จะเปลี่ยน น้ำ
             เพื่อให้ค่าอ๊อคซิเจน เพิ่มขึ้น และ ไนเตรท ไนไตร ลดลง ค่า PH ที่ สูงมัก จะ เกิด กับ บ่อดิน ใน 
             บริเวณที่ เป็น ดินเค็ม หรือ ดินด่าง บ่อปลา ปูนเปลือย ที่ พึ่งทำเสร็จใหม่ๆ บ่อเก็บน้ำ
             ที่ เป็นบ่อปูน


             ดั้งนั้น การแก้ไข หาก เป็นบ่อดิน ก็ ควรจะใช้ สารกรดต่างๆ ข้างต้น เป็น ตัวปรับสภาพน้ำ
             และ ดิน เป็นระยะ ส่วนบ่อ ปูนควรจะใช้ น้ำส้มสายชูกลั่น เช็ด ให้ทั่ว หรือ อาจใช้ ลำต้นกล้วย
             หมัก ในบ่อประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น ให้ล้างบ่อ ให้สะอาด ก่อนใส่ น้ำ


     2.2) น้ำ ที่ มีค่า PH ต่ำ หมายถึง สภาพน้ำ เป็น กรด มีค่ามิเตอร์ ต่ำกว่า 6 ลงไป การปรับแก้
             ควรจะเพิ่มด่างลง ใน น้ำ เช่น ปูนขาว เกลือทะเล เป็นต้น ในกรณี ปลาสวยงาม แนะนำ
             ให้ใช้ เกลือทะเล จะควบคุม ดูแล และ หาซื้อง่ายกว่า สภาพ ความ เป็น กรดสูง จะทำให้
             แอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตร ในน้ำ สูงขึ้น อ๊อคซิเจน ใน น้ำต่ำ อาจทำให้ ปลา ช็อคน้ำตาย
             ฉับพลันได้ การเปลี่ยนน้ำ ในปริมาณมากๆ ติดต่อกัน หลายๆวัน ก็ สามารถช่วยเพิ่มค่า PH
             ต่ำ ได้ดี เช่นกัน


          3. การเตรียม สภาพแวดล้อม สำหรับ ปลาใหม่ ควรจัด ที่ หลบซ่อน เช่น กระถาง ตอไม้ เป็นต้น
              เพราะปลา ที่มา เป็น สมาชิก ใหม่ มักจะ มีความหวาดระแวง สูง อาจถูก ปลาเก่า ซึ่ง เป็น
              เจ้าถิ่นทำร้ายได้ ดังนั้น ควรจะมีบริเวณให้ ปลาใหม่ ได้หลบซ่อน ป้องกันตัว บ้าง หรือ
              หากพบ เห็น ปลาเก่า ทำร้าย หรือ ไล่ต้อนตลอดเวลา ก็ ควรแยก ปลาเก่า เดิมออกไปก่อน
              ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้ว ค่อยนำมาใส่ เช่น เดิม ก็ จะช่วยให้ ปลา เจ้าถิ่น ดุร้าย น้อยลง



         4. ก่อน ที่ จะถ่าย ปลาใหม่ จากบรรจุภัณฑ์ ลงในตู้ หรือ บ่อ ที่ เตรียมเอาไว้ เพื่อเป็น
             การปรับอุณหภูมิ ของ น้ำ ในบรรจุภัณฑ์ และ น้ำในตู้ หรือ บ่อ ให้ มีอุณหภูมิ ใกล้เคียงกัน
             ควรจะแช่บรรจุภัณฑ์ ลงในตู้ หรือ บ่อประมาณ 15-30 นาที ตามแต่ ปริมาณ น้ำ ในบรรจุภัณฑ์
             หรือ หากบรรจุภัณฑ์ มีขนาดใหญ่ หรือ ไม่สามารถ แช่ลงในตู้ หรือ บ่อ ได้ ก็ ควรตักน้ำในตู้
             หรือ บ่อลง ในบรรจุภัณฑ์ เรื่อยๆ ทุกๆ 5 นาที เพื่อให้ ปลา ค่อยๆ ปรับอุณหภูมิ และ ค่า
             สภาพน้ำต่างๆ ทีละน้อยๆ



         5. เมื่อปล่อย ปลาใหม่ ลงไปแล้ว ไม่ควรให้อาหาร ในทันที ควรเว้นระยะ การให้อาหาร
             หลังจากปล่อย ปลา ลงในตู้ หรือ บ่อ ประมาณ 12-24 ชั่วโมง และ ควรจะเฝ้าระวัง อย่าง
             ใกล้ชิด ประมาณ 3 วัน หรือ เมื่อ ปลา กินอาหาร และ ขับถ่ายปกติ


Credit : http://www.fishmonsterclub.in.th



counter create hit