Tip อนุบาล ลูกปลากระเบน

        จุดมุ่งหมาย สูงสุด อย่างหนึ่ง ของ คนเลี้ยง กระเบน ทุกคนผมเชื่อว่า คือ การอยากเห็นปลาจับคู่
        ผสมพันธุ์ และให้ผลผลิต ลูกปลา ออกมา ซึ่งผม ก็ มั่นใจว่า นัก เลี้ยงปลากระเบนทุก ๆ คนสามารถ
        ก้าวไป ถึง จุดนี้ได้ แต่ปัญหา ที่ นักเลี้ยง ปลากระเบน หลาย ๆ คนประสบ คือ เมื่อได้ ลูกปลา

        มาแล้ว ไม่สามารถอนุบาล ลูกปลา ให้รอด เติบโตได้ ปัญหา ที่ มักมีนักเลี้ยงหลาย ๆ ท่าน
        ถามไถ่มาบ่อย ๆ ก็ คือ ลูกปลาไม่ยอมกินอาหาร และ ค่อย ๆ ผอมลง ๆ จนสุดท้าย ก็ ตาย 
        ซึ่ง เป็น เรื่อง ที่ น่าเสียดาย ไม่น้อย



        จากประสบการณ์ ของ ผมนั้น ในกรณี ที่ ลูกปลา คอลด ออกมาอย่าง ปกติ แข็งแรง สมบูรณ์ดี
        โอกาสรอด ของ ลูกปลา มีเกือบ 100 % เต็ม ฉบับนี้ ผม จึง ขอนำเอาวิธีการ ที่ ผมปฏิบัติอยู่
        เป็น ประจำในการอนุบาล ลูกปลา มาถ่ายทอดต่อกัน เผื่อว่า จะ เป็น ประโยชน์สำหรับนักเลี้ยง
        ปลากระเบน ท่านอื่น ๆ
        อย่าง ที่ ผมบอกไว้ข้างต้นว่า ในกรณี ที่ ลูกปลา คอลด ออกมาอย่างปกติ แข็งแรงสมบูรณ์ดี
        โอกาสรอด ของ ลูกปลา มีเกือบ 100 % เต็ม ดังนั้น เรา ก็ ต้องไป เริ่มตั้งต้นกัน ที่ พ่อ-แม่
        ปลา กันเลย เพราะอย่าลืมว่า ถ้า พ่อ-แม่ ปลามีความสมบูรณ์ โดย เฉพาะแม่ ปลา ใน ช่วงระยะ

        เวลาตั้งท้อง หากได้รับการดูแล ให้ มีความสมบูรณ์  กินอาหารเต็มที่อย่างพอดี ๆ ถึงกำหนด
        คลอด ลูกปลา ออกมา เราสามารถมั่นใจ เกือบร้อย เปอร์เซ็นต์ ว่า ลูกปลาสมบูรณ์ และ เมื่อ
        ลูกปลาออกมา สมบูรณ์การดูแล ก็ จะง่ายขึ้นมาก แทบไม่ต้องทำอะไรมาก

        แต่ถ้าเมื่อไหร่ ก็ ตาม ลูกปลา ออกมาไม่สมบูรณ์ มัน ก็ จะยากในการดูแล ยกตัวอย่าง แม่ปลา
        ท้องแรก เมื่อถึงเวลา จะ คลอด โดยธรรมชาติ ปลาตัวผู้ มักจะจ้อง ไล่ทับ ผสมต่อ แม่ปลา
        จะเริ่มเครียด เริ่มไม่กินอาหาร เริ่ม ว่ายอยู่ไม่เป็นสุข ก็ ส่งผลถึง ลูกปลา ในท้อง ถึง ขั้นอาจ
        แท้งลูกได้ ถ้าไม่ แท้ง ก็ อาจคลอด ก่อนกำหนด


        ซึ่งลูกปลา ที่ คลอดก่อนกำหนด จะ มี ถุงไข่แดง ใหญ่ยาว ผิดปกติ ลูกปลา ลักษณะนี้โอกาส
        รอดอยู่ ที่ 50:50 ตราบเท่า ที่ ถุงไข่แดง ยัง ไม่แตก แต่ถ้า ถุงไข่แดงแตก โอกาสรอด
        จะ เหลืออยู่แค่ 20:80 หรือ ไม่ ก็ 10 % เท่านั้น ที่ จะรอด


        ซึ่ง ถ้าเป็นกรณี แม่ปลา แท้ง ลูกก่อนกำหนด เช่นนี้ ส่วนตัวผมแล้ว ถ้า แม่ปลา ยังรอดปลอดภัย
        อยู่ ถือว่าดี ที่ สุดแล้ว เพราะการ ที่ แม่ปลา แท้งลูกออกมา ก็ เพื่อต้องการรักษาชีวิต ของ ตัวมันไว้
        เป็นหลักตามธรรมชาติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ ก็ ตาม ที่ แม่ปลา เครียด ไม่ สามารถแท้ง ลูกออกมา ได้


        ลูกปลา ตาย อยู่ ข้างใน แม่ปลา จะ ไม่ มี ทางรอด แน่นอน แต่ เหตุการณ์ลักษณะนี้
        ไม่ได้ เกิดขึ้นบ่อย ๆ


         การแท้ง ลูก ของ แม่ปลา หรือ การตาย ของ แม่ปลา ตั้งท้อง ที่ นักเลี้ยงบางท่านประสบ
         มักมีคำถาม ที่ มีมา บ่อย ๆ คือ อยู่ ๆ ปลา ก็ ตายโดย ไม่รู้สาเหตุ ซึ่งจากประสบการณ์
         ของ ผม ยืนยัน ว่า การตาย ของ แม่ปลา (หรือ แม้แต่ของปลาทุกตัว) มีสาเหตุ ที่ มาสามารถ
         บอกเรา ได้ ทุก ๆ กรณี ถ้าเรา มี การสังเกตจริง ๆ จะเจอ

          สาเหตุ การตาย ของ ปลา แน่นอน มีคำตอบให้แน่นอน ประเด็นหลักอย่างหนึ่ง ก็ คือ ปลาตัวผู้
         แรกรุ่น ที่ ยัง ผสมพันธุ์ ไม่เป็น ปลาพวกนี้มันห้าว มักจะไล่กัด แม่ปลา เพราะ มันอยู่ในวัย
         ที่ ฮอร์โมนเพศ เริ่มทำงาน อยากลองแล้ว ปลาวัยแรกรุ่นพวกนี้ แหละ ตัวแสบ ที่ มักจะ ทำให้
         แม่ปลา ตั้งท้องเกิดภาวะเครียด

          ประเด็น เรื่องสาเหตุ การตาย ของ ปลา ขอกล่าวถึงคราว ๆ เท่านี้ก่อน ไว้โอกาสหน้าจะอธิบาย
         แบบยาว ๆ กลับ เข้ามา ที่ เรื่องการอนุบาลลูกปลากันต่อ การอนุบาล ลูกปลา ที่ เกิดมามี
         ความสมบูรณ์ เราจะดูแล อย่างไร เพราะถ้าเราดูแล ไม่ถูกหลัก ลูกปลา ที่ สมบูรณ์ ๆ ก็
         อาจจะกลาย เป็น ลูกปลา ป่วยตายได้ง่าย ๆ เช่นกัน


         เริ่มต้น กันด้วย เรื่องการเตรียม สถานที่ สำหรับ ลูกปลา ต้องเข้าใจกันก่อน ว่า ลูกปลา
         ที่ ออกมาใหม่ ๆ ก็ เหมือน เด็กอ่อน เพราะ ฉะนั้น ส่วนตัว ผมแล้วคิด ว่า มันเป็นไปไม่ได้
         ที่ ลูกปลา จะอยู่ในตู้ สูงๆ น้ำลึกๆ ตู้กว้าง ๆ อยู่รวมกัน เยอะ ๆ น้ำไหลเวียนแรง ๆ เปิด
         ออกซิเจนแรง ๆ สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่อง ที่ ไม่เหมาะ กับ ลูกปลา เลย


         ใน ทางกลับ กัน ลูกปลา เหล่านี้ มันต้องการพักผ่อน มากกว่า เพราะ จากประสบการณ์
         ส่วนตัว ลูกปลา ที่ ออกมา ใหม่ ๆ 2-3 วันแรก แทบจะ ไม่ว่ายไปไหนเลย จะ อยู่กันนิ่ง ๆ
         เมื่อเรารู้พฤติกรรม ของ ลูกปลา แรกเกิด ว่า เป็นแบบนี้ แล้ว วิธี การส่วนตัว ที่ ผมทำอยู่

         จะใช้ตู้อนุบาล ที่ มีขนาดส่วนตัว คิด ว่า เหมาะสม ที่ สุดคือ ตู้ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส  24*24 นิ้ว
         สูง 12 นิ้ว ใส่น้ำเพียงแค่ 6 นิ้ว หรือ ครึ่งตู้พอ กรองใช้กรองบน ใส่หัวทราย ออกซิเจน
         แต่ ไม่เปิดแรง

        และ ถ้าสังเกตดู จะเห็น ว่า ลูกปลา จะชอบว่าย อยู่ ตามมุมตู้ ดังนั้น ขอแนะนำ ว่า ในช่วงแรกๆ
        ให้ นำ ปั้มน้ำ หัวทราย ไว้ ตรงกลางตู้ เพื่อให้ ลูกปลา ได้มี พื้นที่ว่าย จนกระทั่ง ลูกปลา
        เริ่มกินอาหารได้ จึง จะว่ายหากินทั่วตู้ อีก อย่างหนึ่ง ที่ ให้ระมัดระวังไว้ คือ ฮีตเตอร์ ที่ จะใส่ให้
        ลูกปลา ต้องมี การ์ดหุ้มไว้ด้วย 


        ป้องกัน ลูกปลา โดนแท่งฮีตเตอร์ เพราะ ความร้อน ของ ฮีตเตอร์ สามารถ ทำให้ผิวหนัง
        ลูกปลา เป็นแผลได้ เพราะเวลา ที่ อุณหภูมิน้ำต่ำ ๆ ลูกปลาจะไป ออ รวมกัน อยู่ บริเวณ
        ที่ มีฮีตเตอร์ ถ้า ฮีตเตอร์ ไม่มี การ์ดหุ้มไว้ จะ เป็นอันตราย กับ ลูกปลา ซึ่ง ผิวหนังลูกปลา
        ที่ ถูกความร้อน จนเป็นแผล ถาม ว่า ผิวหนังใหม่จะขึ้นไหม ขึ้นครับ แต่ รวดลาย จะ ผิดเพี้ยน
        ไปจากเดิม ไม่ สวยงาม

        เรา ต้องคิดเสมอ ว่า ลูกปลา แรกคลอด คือ เด็กอ่อน โอกาส ที่ จะติดเชื้อมี สูงมาก เพราะ
        ฉะนั้น น้ำ ที่ ใช้ ควรเป็น น้ำ ที่ ผ่านกรองเพื่อ เอาคลอรีนออก เอาตะกอน ทุกสิ่งอย่างออกก่อน
        และ แนะนำให้ใส่ยาปฏิชีวนะ ที่ สามารถ กำจัดแบคทีเรีย ที่ เป็น อันตรายได้ ละลายใส่ลงไปด้วย
        ไม่ จำเป็นต้อง เข้มข้น มากนัก

        เพราะ เราใช้ เพื่อป้องกัน ไม่ได้ใช้เพื่อรักษา ยา ที่ ส่วนตัว ใช้เป็นประจำ ๆ คือ ไบโอโทนิค
        (BIO TONIC)  กับ ออกซี่เตร้าไซคลิน (OYTERACYCLINE) ใช้ได้ทั้ง 2 ตัว ส่วนยาเหลือง ญี่ปุ่น
        ส่วนตัว จะ ไม่ใช้เพราะเดี๋ยว นี้ มียาปลอมา ไม่รู้ ว่า ตัวไหน จริง ไหนปลอม ผม จึงเลือก
        ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า

        สำหรับคน ที่ ยังไม่มี ประสบการณ์มากพอ อาจไม่รู้ ว่า แม่ปลา ใกล้จะคลอด รึยัง จึงทำให้
        เตรียมน้ำไม่ทัน ก็ แนะนำว่า ถ้าเตรียม น้ำ ไม่ทัน แล้ว ลูกปลาออกมา ให้ใช้ ตะกร้า ลอยน้ำไว้
        ทำเป็น ตะขอเกี่ยวขอบบ่อ หรือ เอาโฟมหนุนขอบตะกร้า เพื่อให้ ตระกร้า ลอยปริ่ม ๆ น้ำ
        จากนั้น เรา ก็ ตักลูกปลา ที่ ออกมา ณ วันที่ เราเห็นใส่ ตะกร้า นี้ไว้ จะ กี่ตัว หรือ จากกี่แม่
        ก็ ช่างตักใส่ไว้ก่อน



        ข้อดี ของ ตะกร้ามีหลายอย่าง อย่างแรกเลย เรา สามารถพัก ลูกปลา ไว้ในตะกร้าได้ 2-3 วัน
        ในระหว่างนี้ สำหรับ คน ที่ ยังไม่ได้ เตรียมพร้อม เรื่องตู้ เรื่องน้ำ มีเวลามากพอ ที่ จะจัดเตรียม
        ข้อดี ต่อมาคือ การนำ ลูกปลา มาพักไว้ในตะกร้าก่อน จะช่วยให้ เรา สังเกตเห็น ลูกปลา
        ที่ มีบาดแผล หรือ ร่องรอยบาดเจ็บต่าง ๆ

        ทำให้เรา สามารถ แยก ลูกปลา พวกนั้นออกมา ไว้ต่างหาก เพื่อทำการรักษา ใน ตู้อนุบาลต่อไป
        ข้อดี ถัดมา การที่นำ ลูกปลา มาพักไว้ ใน ตะกร้าก่อน ทำให้เราสามารถ คัดแยก เพศปลา
        คัดแยก ปลา ลักษณะสวย ๆ ออกมาได้ และ นำ ลูกปลา ที่ คัดแยกแล้วไปลง ตู้อนุบาล
        ต่อ ทำให้เรา สะดวก ใน การคัดแยกปลา

         หากเรา ไม่ใช้ ตะกร้า เลือก ที่ จะตัก ลูกปลา ใส่ตู้อนุบาลเลย ถามว่า ทำได้มั้ย ทำได้ครับ
         แต่ ถ้าเรามา พบ ว่า ลูกปลา มีบาดแผล แล้ว จะ ทำการคัดแยก ออกมา รักษา ต่างหาก ก็
         จะเป็นการรบกวน ปลาตัวอื่น ๆ ในตู้ ซึ่ง ลูกปลา แรกคลอด ต้องการ การพักผ่อน มากกว่า

         การรบกวน เช่น เดียวกัน ถ้าเราต้องการ คัดแยกเพศ หรือ คัดแยก ลูกปลาสวย ๆ ออกมา
         ภายหลังจากนำปลาลงตู้ แล้ว ก็ เป็นการรบกวน ลูกปลา อย่างมาก เช่นกัน สู้เรา คัดแยก
         ตั้งแต่ แรก ในบ่อเลย จะ ดีกว่าครับ

         หลาย ท่านอาจสงสัย ว่า แล้ว ลูกปลา ต่างแม่ จะคัดมาไว้รวมกัน ได้มั้ย ตอบว่าได้ครับ
         ขอเพียงแต่ ว่า ให้ เป็น ลูกปลา ที่ ออกมา พร้อม ๆ กันเรา สามารถคัดแยก อนุบาลรวมกันได้
         เช้า เราตื่น ขึ้นมาเดินดูในบ่อ พบ ลูกปลา จะกี่ตัว ก็ ช่าง เราตักมารวมกัน ในตะกร้าได้ครับ
         แล้ว ก็ คัดแยก ลูกปลา มีบาดแผล ลูกปลา เพศผู้-เมีย ลูกปลา รวดลายสวย ๆ ให้เสร็จเรียบร้อย


         ถ้าเรายังไม่ พร้อมจะนำ ลูกปลา ลงตู้อนุบาล ก็ สามารถปล่อย ลูกปลา ไว้ในตะกร้าไปอีก
         2-3 วันได้สบาย ๆ ครับ บางคนเลือก ที่ จะตัก ลูกปลา ใส่ไว้ใน กะละมัง แล้ว ใส่หัวทราย
         แทนการตักใส่ ตะกร้า ส่วนแล้วผม ไม่แนะนำให้ ใช้วิธีแบบนี้ เพราะ ในกะละมัง น้ำ จะไม่
         ไหลเวียน เมื่อคัดแยก ลูกปลา เรียบร้อยแล้ว

         ให้นับจำนวน ลูกปลา ที่ ได้ ว่า มากน้อยแค่ไหน ถ้ามากให้แบ่งตู้เป็น 2 ตู้ แต่ ถ้าน้อย ๆ 3-5 ตัว
         ไซต์ปรกติ 3-4 นิ้ว ใส่ ตู้เดียวได้ แต่ถ้าขึ้น 6 ตัว เมื่อไหร่ แนะนำให้แบ่งเป็น 2 ตู้ จะดีกว่า

         ใน การตัก ลูกปลา ในบ่อมาใส่ใน ตะกร้า ผมขอเตือน ว่า ต้องตักอย่างระมัดระวัง ทำเบา ๆ
         อย่าใช้ความรุ่นแรง ให้ ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ ต้อน ลูกปลา เข้าสวิง หรือ กระชอน บางท่านเห็น
         ลูกปลา พุ่งตัวหนีไปมา เอาสวิงไล่ช้อน ลูกปลา จน ลูกปลาตกใจ ไม่แนะนำ ให้ทำอย่างนั้น
         ครับ เพราะ ลูกปลา อาจเกิดอันตรายได้ 


         อีกกรณีหนึ่ง เมื่อตัก ลูกปลา ได้แล้ว บางท่าน ยกสวิง ที่ มี ลูกปลา อยู่พ้นน้ำ พาเดินมาใส่
         ในตะกร้า ก็ ไม่แนะนำ ให้ทำแบบนั้น เช่นกัน เป็นอันตราย กับ ลูกปลามาก ควรหาขันน้ำ
         หรือ กะละมัง ช้อน ลูกปลา นำไปใส่ใน ตะกร้า หรือ จะลากสวิงจมน้ำ ไปเลย ก็ ได้ ปลอดภัย
         กับ ลูกปลามากกว่า อย่าลืม นะครับ ว่า ลูกปลาแรกเกิด ก็ คือทารก แรกคลอด นั่นเอง

         เมื่อตัก ลูกปลา ใส่ ตระกร้า เสร็จ ก็ เตรียมน้ำ เตรียมตู้ จะใช้น้ำใหม่ ทั้งตู้เลย ก็ ได้ 
         หรือ จะใช้ น้ำเก่า จากบ่อครึ่งหนึ่ง น้ำใหม่ ครึ่งหนึ่ง ก็ ได้ แต่ ต้องไม่มีคลอรีน เมื่อเตรียม
         น้ำ เสร็จแล้ว ละลายยาใส่ (ละลายยาพอให้น้ำออกสีเหลืองอ่อน ๆ )


         นำ ลูกปลา มาปล่อยลง แล้ว ก็ ปิดไฟในตู้ ได้เลย ไม่ต้องเปิดไฟ วันรุ่งขึ้นให้ดู ว่า น้ำขุ่น
         หรือ ไม่ ถ้าน้ำขุ่นให้ ถ่ายน้ำ ออก ครึ่งหนึ่ง เติมน้ำ ใหม่ใส่ลงไป แล้วใส่ ยา ลงไปอีกครึ่งโดสจาก
         ที่ เราเคยใส่ตอนแรก ถ้าน้ำไม่ขุ่น ไม่ต้องเปลี่ยน ปล่อยให้ ลูกปลา พักผ่อน 1-2 วัน สังเกตดู
         ว่า ถ้าปลาสมบูรณ์ ดี จะเริ่ม มีการขับถ่าย ออกมาบ้าง

         วันที่ 3 ให้ เปิดไฟ แล้วเริ่มให้เหยื่อ ที่ เป็นกุ้งฟอยตัวเล็ก ๆ เด็ดหัวออก บีบ เอาแต่ เนื้อ
         แล้วหย่อนลงไป เพื่อให้ ลูกปลา ฝึกกินเหยื่อ ลูกปลา คลอด ออกมาไม่กี่วัน ฟัน กรามยังไม่แข็งแรง
         เราต้องค่อย ๆ ฝึกให้กินอาหารอ่อน ๆ


         แรก ๆ ลูกปลา อาจจะลอง เคี้ยว ๆ กุ้งแล้ว ก็ คายทิ้ง ไม่ต้องกังวล ผ่านไป 1-2 ชม. 
         ให้ตักเศษกุ้งออก เมื้อเย็น ลองให้ อีกครั้ง พอให้กินเสร็จ แล้ว เราก็ปิดไฟ ทำแบบนี้ไประยะหนึ่ง
         ปลา จะคุ้นเคย เมื่อเราเปิดไฟ ปลาจะว่ายไปมา เราก็ ค่อย ๆ หย่อนอาหารให้ แรก ๆ ปลา
         อาจจะไม่กิน เป็น เรื่องปกติ เพราะ ลูกปลา ออกมายังไม่เคยกิน อะไร มาก่อน

         เรา จะต้อง คอยฝึกให้ ลูกปลา กิน ช่วง วันที่ 3-4 ปลา อาจจะแค่กัด ๆ เคี้ยว ๆ แต่พอถึง
         วันที่ 5 หรือ ก่อนจะครบอาทิตย์ ท้องปลา ที่ เคยตุ้ง ๆ เพราะ มีอาหารไข่แดงอยู่ในท้อง
         ก็ จะแฟบลงพร้อม ๆ กับ ปลา จะเริ่มมีพัฒนาการ กินเหยื่อ เริ่มมี การขับถ่าย ออกมา เป็นเส้น ๆ
         จากประสบการณ์ เมื่อผ่านไป 4-5 วัน จะต้องมี ปลา ตัวใดตัวหนึ่ง เริ่ม กินอาหาร

         ข้อที่ ผมอยากให้จำกันไว้ คือ ให้เรา ระลึก ไว้เสมอ ว่า ลูกปลา ที่ เพิ่งคลอด ออกมาช่วงแรก ๆ
         เราต้องค่อย ๆ ฝึกสอน ให้ เค้าเรียนรู้ การใช้ชีวิต ถ้าเราไป ฝืนเอา กุ้งใหญ่ ให้เค้ากิน ลูกปลา
         จะกินไม่เป็น ยิ่งถ้าโชคร้ายไปโดน กุ้งแทง ลูกปลา ก็ จะแหยงไม่กล้ากินอีกเลย พอได้ กลิ่นกุ้ง
         ลูกปลา จะหนีไปเลย แล้ว ลูกปลา ก็จะค่อย ๆ ผอมลง ๆ จนตายได้

         ส่วนตัว ผมแล้ว อาหาร ที่ ให้ ลูกปลา ใช้เนื้อกุ้งจะดี ที่สุด เพราะ ปกติ เราคงไม่สามารถให้
         ปลากินหนอนแดง ได้ทุกเมื้อ ฉะนั้น ฝึกให้กินกุ้งจะดี ที่สุด ถ้า ปลา กินตัวละชิ้น ต่อวัน
         ในช่วงแรก ๆ ถือ ว่า น่าพอใจแล้ว และ เมื่อ ลูกปลา เริ่มกินเยอะขึ้น เรา ก็ ลองให้กิน กุ้งทั้งตัว
         เด็ดส่วนหัวออก แต่ ต้องเป็นกุ้งตัวเล็ก ๆ นะครับ

         บางคน ขี้เกียจ ป้อนเหยื่อตาย เอา กุ้งเป็นมาใส่ลงไป ในตู้เลย วิธี แบบนี้ ผมไม่แนะนำ
         ให้ทำแบบนั้น เพราะ กุ้งจะว่าย หนีจน ปลา กินไม่ได้ และ ตกกลางคืน เวลา ปลา นอน
         กุ้งเป็น ๆ จะเริ่ม ออกหากิน ตามก้นตู้ กินเศษอาหาร บางครั้ง อาจจะกัด แทะ ลูกปลา กินเราได้

         เมื่อ ปลา เริ่มกินกันดี ผ่านไป 1 อาทิตย์ สังเกตได้ ว่า น้ำในตู้ จะเริ่มขุ่น เพราะ ของเสียจาก
         ปลา เริ่มมีมากขึ้น ให้เปลี่ยนถ่าย น้ำ ตาม วิธีปกติทั่ว ๆ ไป ถ่ายน้ำ เก่าออกครึ่งหนึ่ง 
         น้ำใหม่ใส่ลงไป ครบอาทิตย์ ก็ เปลี่ยนครั้งหนึ่ง จนครบเดือน ถ้า มีตู้ใหญ่ 48-60 นิ้ว
         ก็ ตัก ปลา ออกมาใส่ ใน ตู้ใหญ่ ถ้า ขายได้ ก็ ขายเลย

         ในกรณี ที่ ลูกปลา ไม่ยอมกินเหยื่อ แม้เรา จะ พยายามอย่างไร ปลา ก็ ไม่ยอมกิน มีอาการ
         ผอมลง ๆ จากประสบการณ์ จะ เกิดมาจากหลายสาเหตุ ที่ สำคัญ ๆ คือ 
                  1. คลอดก่อนกำหนด
                  2. เหยื่อ ที่ ให้ไม่เหมาะสม กับ ลูกปลา ที่ ยังอ่อนแออยู่ 
                  3. สภาพน้ำ ไม่ เหมาะสม อุณหภูมิ ต่ำเกินไป เป็นต้น

         ทุก กรณี มี สาเหตุบอกเราได้ ถ้า เรารู้จักสังเกต และ เราจะต้องดูด้วยว่า ปลา ไม่กินอาหาร
         กันทุกตัว หรือ ว่าเป็นเฉพาะ บางตัว ถ้าเป็นแค่บ้างตัว สำหรับผมนั้นจะ ระลึกไว้ ว่า ในธรรมชาติ
         ปลาตัว ที่ อ่อนแอ กว่ามักจะถูก กำจัดออกไป ตัว ที่ แข็งแรงกว่า จะรอด ปลอดภัย 

         ถ้าเรา เตรียมพร้อมทุกอย่าง ทำทุกอย่างดีแล้ว ปลา ไม่กิน และ ปลาตาย ก็ให้ทำใจ ว่า
         มัน เป็น ธรรมชาติ ของมัน!

Credit : http://www.fishmonsterclub.in.th



counter create hit